รู้จักกับ “Electric induction motor” มอเตอร์ไฟฟ้า อีกหนึ่งความสำคัญ

Electric induction motor

Electric induction motor หรือ มอเตอร์ไฟฟ้านั้นค่อนข้างมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอย่างมากเนื่องจากว่ามีการใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลายจึงทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งความสำคัญของมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Electric induction motor หรือ มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำกันนะครับว่ามีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง  

คุณณลักษณะของ “Electric induction motor 

  • ความเร็วรอบของคงที่ โดยความเร็วรอบนั้นจะขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าสลับ แต่จะมีการเปลี่ยนตามโหลด แรงบิดหมุนต่ำ ฃ 
  • ในการสร้างมอเตอร์ประเภทนี้นั้น โครงสร้างจะไม่ซับซ้อน ในการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างง่าย เนื่องด้วยไม่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า คอมมิวเตอร์ จึงทำให้ราคาถูก 
  • อุตสาหกรรมนำมาใช้งาน และ   นำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยมีเกือบจะทุกอุตสาหกรรม เช่น ขับเคลื่อนลิฟท์  สายพานลำเลียง เครื่องกลึง และ เครื่องไส  

ส่วนประกอบของ Electric induction motor 

  • Stator : จะมีขดลวดอาร์เมเจอร์พันที่ขั้วแม่เหล็ก 3ชุด  โดยอาจจะต่อแบบเดลต้า หรือ อาจจะต่อแบบวายก็ได้ โดยจะมีหน้าที่สร้างสนามพลังแม่เหล็ก  
  • Rotor : โดยในมอเตอร์นั้นจะมี การโรเตอร์อยู่ 2 แบบที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นจะถูกเรียกว่า  
  • แบบกรงกระรอก (Squirrel Cage Induction Motor) : โดยรูปแบบนี้จะมีแท่งเหนี่ยวนำฝังอยู่ที่ช่องขนานกัน ลัดวงจรที่ปลายด้าน  
  • แบบขดลวด : (Wound Rotor Induction Motors) โดยจะมีการพันขดลวดเท่ากับขดลวดที่สเตเตอร์ปลายขดลวดทั้ง 3 เฟสนั้นจะสามรถเชื่อมผ่านวงแหวน และผ่านแปรงถ่าน 

หลักการทำงงาน 

  • จ่ายไฟฟ้า โดยจ่ายเป็นกระแสสไฟฟ้าสลับ จะทำให้เกิดสนามพลังแม่เหล็ก และจะหมุนมอเตอร์ด้วยความเร็วซิงโครนัส  
  • จ่ายกระแสไฟตรงให้กับขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กคงที่  
  • ให้แรงบิดเริ่มต้นแก่โรเตอร์ เพื่อทำให้โรเตอร์นั้นหมุนใกล้เคียงกับความเร็วของซิงโครนัส  
  • สนามแม่เหล็กที่โรเตอร์จะถูกล็อคความเร็วเท่ากับสนามแม่เหล็กหมุนของสเตเตอร์ ทำให้โรเตอร์นั้นจะสามารถหมุนด้วยความเร็วแบบซิงโครนัส  

ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นที่ควรรู้  

ในการใช้งานนั้นแน่นอนว่าย่อมเกิดความเสียหายด้วยเช่นกันโดยความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีหลากหลายอย่างมาก โดยเรามาดูกันว่าจะมีสาเหตุอะไรบ้างที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหาย 

  • การทำงานเกินพิกัด (Overload) 
  • การใช้เครื่องที่ยาวนานเกินไป  
  • การใช้งานปั๊มขณะที่ไม่มีโหลด  
  • การจ่ายไฟที่กำลังย้อนกลับ  
  • แรงดันไฟตก  
  • แรงดันไฟไม่สมดุล  
  • ไฟฟ้าลัดวงจรระหว่างเฟส  
  • ตัวโลหะทำให้เกิดการลัดวงจร  

การดูแลรักษา 

ในการดูแลรักษานั้นมีหลากหลายเรื่องที่เราจะต้องรู้ทั้งเรื่องของไฟเองก็สำคัญเพราะว่าถ้าหากว่ามีการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนจะใช้งานนั้นเราควรตรวจสอบคุณภาพของไฟฟ้าว่าปกติดีหรือไม่ หรือ ที่ตัวมอเตอร์เองมีปัญหา หรือติดขัดอะไรตรงไหนก็ควรหยุดการใช้งานก่อนนะครับ  

และนี้เป็นเรื่องของ มอเตอร์ไฟฟ้าที่เรานั้นอาจจจะยังไม่รู้ และ เชื่อว่าหลายคนนั้นอาจจะทำงานใกล้ ๆ กับมอเตอร์แต่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ก็มี ก็หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์มากขึ้นสำหรับคนที่ยังไม่รู้ในเรื่องของมอเตอร์ไว้นะครับ ไว้บทความหน้าเราจะพาทุกคนหาความรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้าไว้อีก รอติดตามกันได้เลยนะครับ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *