โรงไฟฟ้าในประเทศไทยมีกี่แห่ง อะไรบ้าง

ไฟฟ้า เป็นพลังงานหลักที่ใช้กันทั่วทั้งโลก ซึ่งสามารถกำเนิดมาได้จากหลากหลายแหล่งพลังงาน และเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ ความมั่นคงทางพลังงาน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีอัตราการเติบโตยังคงเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ และการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้มีการสร้าง โรงไฟฟ้า ขึ้นหลายแห่งในประเทศ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งจะมีกี่แห่ง มีที่ไหนบ้างนั้น เราจะพาไปทำความรู้จักให้มากยิ่งขึ้น   

โรงไฟฟ้าคืออะไร  

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของทั้งรัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการแปลงพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้า เช่น ขยะ ความร้อน แสงอาทิตย์ เป็นต้น  

โรงไฟฟ้าในประเทศไทยมีกี่แห่ง อะไรบ้าง  

โรงไฟฟ้าหลักที่ขึ้นตรงกับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่  

1. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าชั้นดี ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง โดย ณ ปัจจุบัน มีโรงไฟฟ้ารวมทั้งหมด 10 เครื่อง และมีกำลังผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1.8 พันล้านหน่วยต่อปี ซึ่งมีข้อดีในการลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงและไม่แน่นอน    

2. โรงไฟฟ้าบางปะกง ไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนร่วม โดยอาศัยเชื้อเพลิงจากน้ำมันดีเซลและก๊าซธรรมชาติ ประกอบไปด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจำนวน 4 เครื่อง ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าในปริมาณที่ต่างกัน โดยกระจายออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 2 เครื่อง มีกำลังผลิตเครื่องละ 550 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจำนวน 2 ชุด กำลังผลิตชุดละ 337.50 เมกะวัตต์ 

3. โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานความร้อนร่วม และใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแหล่งสหภาพเมียนมาร์ฝั่งตะวันตก และฝั่งอ่าวไทยตะวันออก โดยมีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 2 ชุด ชุดที่ 1 มีกำลังผลิต 704 เมกะวัตต์ และชุดที่ 2 มีกำลังผลิต 848.3 เมกะวัตต์ 

4. โรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าความร้อนร่วม มีกำลังผลิต 1,261.8 เมกะวัตต์ และให้อัตราไฟฟ้าสูงสุดถึง 278 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง  

5. โรงไฟฟ้ากระบี่ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ที่ใช้น้ำมันเตาและก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยมีกำลังผลิต ที่เครื่องละ 340 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง พร้อมจัดระบบส่งไฟฟ้าระบบขนส่งเชื้อเพลิงระบบปรับสภาพน้ำ และระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและส่งต่อกระแสไฟฟ้าสู่ประชาชน  

6. โรงไฟฟ้าจะนะ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้เครื่องผลิตไอน้ำจำนวน 2 เครื่องเครื่องผลิตไฟฟ้า กังหันแก๊สจำนวน 2 เครื่อง และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำจำนวน 1 เครื่อง โดยมีกำลังผลิตประมาณ 731เมกะวัตต์ 

7. โรงไฟฟ้าวังน้อย โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โดยอาศัยเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง โดยมีกำลังผลิตสูงสุด 2,830.95 เมกะวัตต์ 

8. โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา มีโรงงานไฟฟ้าอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม เพื่อการเพิ่มศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากธรรมชาติ  

9. โรงไฟฟ้าน้ำพอง ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบพลังงานความร้อนร่วม ที่มีกำลังผลิตรวม 710,000 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อกระจายพลังงานสู่ท้องถิ่น และลดการส่งถ่ายพลังไฟฟ้าจากภาคเหนือและภาคกลาง  

จากที่กล่าวไปข้างต้นเป็นเพียงโรงไฟฟ้าประเภทหลัก ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ ทั้งนี้ในแต่ละกระบวนการล้วนแล้วส่งผลสภาพแวดล้อมโดยรอบ แต่ก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากต่างประเทศ เพราะค่อนข้างมีข้อเสียในเรื่องของค่าใช้จ่าย ทำให้นอกจากมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าแล้ว ทางด้านหน่วยงานที่ดูแลได้มีการจัดตั้งโครงการ เพื่อการรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ร่วมด้วย  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *